เลขชุดเอกสาร: DAC006
ชื่อชุดเอกสาร: การบูรณะระบบการเงินภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการจัดตั้ง “ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา”
ช่วงปีของชุดเอกสาร: 2489-2498
บทคัดย่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณูปโภค และทำให้กิจการการค้าและการผลิตของไทยต้องหยุดชะงักลง แม้ว่ากิจการการค้าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นเมื่อสงครามยุติลง แต่ปัญหามีอยู่ว่า ประเทศไทยไม่สามารถหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดิม โดยการผูกค่าเงินบาทไว้กับปอนด์สเตอร์ลิงในอัตรา 11 บาทต่อ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง เหมือนในช่วงก่อนสงครามได้ เพราะทุนสำรองเงินตราซึ่งเป็นเครื่องมือในการดำรงค่าเงินบาท ยังอยู่ในระดับต่ำ ทุนสำรองเงินตราจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสถียรภาพให้กับอัตราแลกเปลี่ยน ภารกิจของธนาคารแห่งประเทศไทยในการฟื้นฟูประเทศไทยในช่วงหลังสงคราม จึงมีอยู่ 2 ประการหลัก คือ ประการแรก จะจัดสรรเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่น้อยนิดอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด และประการที่สอง จะจับจ่ายเงินในการฟื้นฟูบูรณะประเทศอย่างไรที่จะไม่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-005 เรื่อง คำแถลงการณ์ของรัฐบาลในการใช้เงินตราต่างประเทศบูรณะประเทศ เอกสารเลขที่ DAC006-000-006 เรื่อง พระราชบัญญัติจัดสรรเงินตราเพื่อบูรณะประเทศ พ.ศ. 2489 เอกสารเลขที่ DAC006-000-007 เรื่อง การจำหน่ายทองคำจากบัญชีทุนสำรองเงินตราโดยถอนธนบัตรคืนจากธนบัตรออกใช้ เอกสารเลขที่ DAC006-000-009 เรื่อง มาตรการของรัฐบาลเพื่อให้เงินตราไทยมีเสถียรภาพที่มั่นคง เอกสารเลขที่ DAC006-000-008 เรื่อง นโยบายการเงิน เอกสารเลขที่ DAC006-000-010 เรื่อง การถอนธนบัตรโดยวิธีการออกสลากเงินแบ่ง เอกสารเลขที่ DAC006-000-011 เรื่อง บันทึกการหารือเพื่อจัดเสถียรภาพเงินตรา เอกสารเลขที่ DAC006-000-012 เรื่อง การจัดเสถียรภาพเงินบาท และเอกสารเลขที่ DAC006-000-017 เรื่อง การเงินและการธนาคาร)
เมื่อประเทศไทยต้องการที่จะหาเงินตราต่างประเทศเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลน รัฐบาลไทยจึงได้ออกมาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างสิ้นเชิง (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-001 เรื่อง กระทรวงการคลังตรึงค่าปริวรรตของบาท เอกสารเลขที่ DAC006-000-002 การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน และเอกสารเลขที่ DAC006-000-003 ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน) เพื่อรวบรวมเงินตราต่างประเทศที่ได้มาไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งกลางและแหล่งเดียว(ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-004 เรื่อง การรวมเงินต่างประเทศเข้ากองกลาง) และป้องกันการโอนทุนออกนอกประเทศ นอกจากนี้ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินยังเป็นการง่ายที่จะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท และความสะดวกในการเก็บสถิติของการรับและใช้จ่ายเงินผ่านผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าอีกด้วย
หลังจากทางการได้ใช้ระบบควบคุมการแลกเปลี่ยนที่เข้มงวดนี้ไปเพียง 8 เดือน ในวันที่ 28 มกราคม 2490 ทางการได้เปลี่ยนระบบใหม่เป็น ‘ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา’ อัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรานี้ มีผลทำให้ตลาดเงินตราต่างประเทศถูกแบ่งออกเป็นสองภาค คือ ตลาดทางการและตลาดเสรี โดยอัตราทางราชการกำหนดขึ้นตามกฎหมาย และอัตราตลาดเสรี ซึ่งกำหนดขึ้นตามความต้องการของตลาดเงินตราต่างประเทศ และเดิมทีคือ อัตราที่ซื้อขายกันในตลาดมืด ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีการควบคุมอย่างสิ้นเชิงโดยทางการ (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-013 เรื่อง อัตราปริวรรตปอนด์สเตอร์ลิงและดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ขายให้ทางราชการ เอกสารเลขที่ DAC006-000-014 เรื่อง การกำหนดค่าของเงินบาทใหม่ เอกสารเลขที่ DAC006-000-015 เรื่อง บันทึกสรุปคำแนะนำของคณะผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เอกสารเลขที่ DAC006-000-016 เรื่อง เรื่องค่าของเงินตราและราคาสินค้า และเอกสารเลขที่ DAC006-000-018 เรื่อง รายงานผลของการขายปอนด์เสรีในอัตรา 45 บาทและการขายดอลลาร์เสรีในอัตรา 16.75 บาท มี.ค.-ส.ค.2496)
เค้าโครงของวิธีการควบคุมใหม่นี้ ทางการได้ยกเลิกการกำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าชนิดอื่น ๆ ต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย และอนุญาตให้นำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกสินค้าชนิดอื่น ๆ ไปขายในท้องตลาดในอัตราตลาดเสรีได้ ยกเว้นแต่ผู้ที่ส่งออกสินค้าสำคัญ คือ ข้าว ยาง ดีบุก และไม้สัก ยังต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราทางราชการอยู่ (ในสัดส่วนร้อยละต่าง ๆ กันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด) แต่จะได้รับสิทธิในการซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ซื้อสินค้านำเข้าตามสัดส่วนของเงินตราต่างประเทศที่ส่งมอบ
การเปลี่ยนแปลงเค้าโครงระบบการควบคุมเป็นระบบแลกเปลี่ยนหลายอัตรา พร้อมกับผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า ส่งผลให้ทางการมีเงินตราต่างประเทศที่หายากในขณะนั้น คือ เงินดอลลาร์ สรอ. ที่ขาดแคลนทั่วโลก และถือเป็นการพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้สะสมเงินตราต่างประเทศมากพอ จึงเริ่มขายให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อไปขายต่อให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอีกที อีกทั้งมีผลทำให้อุปทานของเงินตราต่างประเทศในตลาดเสรีมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโน้มลงมาหาอัตราทางราชการ อันเป็นทางไปสู่การจัดเงินตราเข้าสู่เสถียรภาพได้ จากต้นปี 2490 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 80 – 84 บาทต่อ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง และในปลายปี 2490 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 57 - 59 บาทต่อ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง จนเมื่อปลายปี 2497 ได้มีจดหมายให้เริ่มพิจารณางดการขายเงินตราต่างประเทศให้ธนาคารพาณิชย์ และมีการเสนอให้ยกเลิกการขายเงินตราต่างประเทศในอัตราเสรีไปด้วย (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-019 เรื่อง การขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ธนาคารพาณิชย์)
ปลายปี 2497 รัฐบาลได้ตัดสินใจให้มีการปรับปรุงแก้ไขนโยบายการเงินการคลัง ตลอดจนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ หลังจากที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรามาเกือบ 8 ปี โดยจุดประสงค์ของการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา เพื่อสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศนั้น ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะเงินทุนสำรองได้เพิ่มขึ้นมากจนอยู่ในระดับที่เพียงพอ จากที่ประเทศไทยมีทองคำที่เป็นทุนสำรองเพียงร้อยละ 17 ของธนบัตรออกใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเพิ่มขึ้นเท่ากับธนบัตรออกใช้ หรือเท่ากับร้อยละ 100 ของธนบัตรออกใช้ในปี 2495 (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-020 วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497 เรื่อง วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497 เอกสารเลขที่ DAC006-000-021 เรื่อง พระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2498 เอกสารเลขที่ DAC006-000-022 เรื่อง ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และเอกสารเลขที่ DAC006-000-023 เรื่อง บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2489)
การปรับนโยบายให้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินเป็นระบบตลาดเสรีโดยสิ้นเชิง เพื่อให้สะท้อนกับสภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศและการค้าของไทย จึงนับได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของระบบเศรษฐกิจและระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทย
สรุปการบูรณะระบบการเงินภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
โจทย์
• DAC006-000-005 เรื่อง คำแถลงการณ์ของรัฐบาลในการใช้เงินตราต่างประเทศบูรณะประเทศ
• DAC006-000-006 เรื่อง พระราชบัญญัติจัดสรรเงินตราเพื่อบูรณะประเทศ พ.ศ. 2489
• DAC006-000-007 เรื่อง การจำหน่ายทองคำจากบัญชีทุนสำรองเงินตราโดยถอนธนบัตรคืนจากธนบัตรออกใช้
• DAC006-000-009 เรื่อง มาตรการของรัฐบาลเพื่อให้เงินตราไทยมีเสถียรภาพที่มั่นคง
• DAC006-000-008 เรื่อง นโยบายการเงิน
• DAC006-000-010 เรื่อง การถอนธนบัตรโดยวิธีการออกสลากเงินแบ่ง
• DAC006-000-011 เรื่อง บันทึกการหารือเพื่อจัดเสถียรภาพเงินตรา
• DAC006-000-012 เรื่อง การจัดเสถียรภาพเงินบาท
• DAC006-000-017 เรื่อง การเงินและการธนาคาร
• จะจัดสรรเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่น้อยนิดอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด (บทบาทของ ธปท.)
o มาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างสิ้นเชิง
• DAC006-000-001 เรื่อง กระทรวงการคลังตรึงค่าปริวรรตของบาท
• DAC006-000-002 การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
• DAC006-000-003 ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
เพื่อรวบรวมเงินตราต่างประเทศที่ได้มาไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งกลางและแหล่งเดียว
• DAC006-000-004 เรื่อง การรวมเงินต่างประเทศเข้ากองกลาง
ป้องกันการโอนทุนออกนอกประเทศ
o ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราและการผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา
• เพื่อเพื่อสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
• ทำให้ตลาดเงินตราต่างประเทศถูกแบ่งออกเป็นสองภาค คือ ตลาดทางการและตลาดเสรี
o DAC006-000-013 เรื่อง อัตราปริวรรตปอนด์สเตอร์ลิงและดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ขายให้ทางราชการ
o DAC006-000-014 เรื่อง การกำหนดค่าของเงินบาทใหม่
o DAC006-000-015 เรื่อง บันทึกสรุปคำแนะนำของคณะผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
o DAC006-000-016 เรื่อง เรื่องค่าของเงินตราและราคาสินค้า
o DAC006-000-018 เรื่อง รายงานผลของการขายปอนด์เสรีในอัตรา 45 บาทและการขายดอลลาร์เสรีในอัตรา 16.75 บาท มี.ค.-ส.ค.2496
การผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า
• ยกเลิกการกำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
• อนุญาตให้นำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกสินค้าไปขายในท้องตลาดในอัตราตลาดเสรีได้ ยกเว้นแต่ผู้ที่ส่งออกสินค้าสำคัญ คือ ข้าว ยาง ดีบุก และไม้สัก
o ผลจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราและการผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า
เงินทุนสำรองได้เพิ่มขึ้นมากจนอยู่ในระดับที่เพียงพอ
• DAC006-000-020 วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497 เรื่อง วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497
• DAC006-000-021 เรื่อง พระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2498
• DAC006-000-022 เรื่อง ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
• DAC006-000-023 เรื่อง บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2489
ส่งผลให้ทางการมีเงินตราต่างประเทศที่หายากในขณะนั้น คือ เงินดอลลาร์ สรอ. ที่ขาดแคลนทั่วโลก จึงเริ่มขายให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อไปขายต่อให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอีกที.
• DAC006-000-019 เรื่อง การขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ธนาคารพาณิชย์
เป็นการพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศ
• จะจับจ่ายเงินในการฟื้นฟูบูรณะประเทศอย่างไรที่จะไม่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก (บทบาทของรัฐบาล)
เมื่อประเทศไทยต้องการที่จะหาเงินตราต่างประเทศเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลน รัฐบาลไทยจึงได้ออกมาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างสิ้นเชิง (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-001 เรื่อง กระทรวงการคลังตรึงค่าปริวรรตของบาท เอกสารเลขที่ DAC006-000-002 การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน และเอกสารเลขที่ DAC006-000-003 ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน) เพื่อรวบรวมเงินตราต่างประเทศที่ได้มาไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งกลางและแหล่งเดียว(ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-004 เรื่อง การรวมเงินต่างประเทศเข้ากองกลาง) และป้องกันการโอนทุนออกนอกประเทศ นอกจากนี้ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินยังเป็นการง่ายที่จะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท และความสะดวกในการเก็บสถิติของการรับและใช้จ่ายเงินผ่านผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าอีกด้วย
หลังจากทางการได้ใช้ระบบควบคุมการแลกเปลี่ยนที่เข้มงวดนี้ไปเพียง 8 เดือน ในวันที่ 28 มกราคม 2490 ทางการได้เปลี่ยนระบบใหม่เป็น ‘ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา’ อัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรานี้ มีผลทำให้ตลาดเงินตราต่างประเทศถูกแบ่งออกเป็นสองภาค คือ ตลาดทางการและตลาดเสรี โดยอัตราทางราชการกำหนดขึ้นตามกฎหมาย และอัตราตลาดเสรี ซึ่งกำหนดขึ้นตามความต้องการของตลาดเงินตราต่างประเทศ และเดิมทีคือ อัตราที่ซื้อขายกันในตลาดมืด ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีการควบคุมอย่างสิ้นเชิงโดยทางการ (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-013 เรื่อง อัตราปริวรรตปอนด์สเตอร์ลิงและดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ขายให้ทางราชการ เอกสารเลขที่ DAC006-000-014 เรื่อง การกำหนดค่าของเงินบาทใหม่ เอกสารเลขที่ DAC006-000-015 เรื่อง บันทึกสรุปคำแนะนำของคณะผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เอกสารเลขที่ DAC006-000-016 เรื่อง เรื่องค่าของเงินตราและราคาสินค้า และเอกสารเลขที่ DAC006-000-018 เรื่อง รายงานผลของการขายปอนด์เสรีในอัตรา 45 บาทและการขายดอลลาร์เสรีในอัตรา 16.75 บาท มี.ค.-ส.ค.2496)
เค้าโครงของวิธีการควบคุมใหม่นี้ ทางการได้ยกเลิกการกำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าชนิดอื่น ๆ ต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย และอนุญาตให้นำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกสินค้าชนิดอื่น ๆ ไปขายในท้องตลาดในอัตราตลาดเสรีได้ ยกเว้นแต่ผู้ที่ส่งออกสินค้าสำคัญ คือ ข้าว ยาง ดีบุก และไม้สัก ยังต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราทางราชการอยู่ (ในสัดส่วนร้อยละต่าง ๆ กันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด) แต่จะได้รับสิทธิในการซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ซื้อสินค้านำเข้าตามสัดส่วนของเงินตราต่างประเทศที่ส่งมอบ
การเปลี่ยนแปลงเค้าโครงระบบการควบคุมเป็นระบบแลกเปลี่ยนหลายอัตรา พร้อมกับผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า ส่งผลให้ทางการมีเงินตราต่างประเทศที่หายากในขณะนั้น คือ เงินดอลลาร์ สรอ. ที่ขาดแคลนทั่วโลก และถือเป็นการพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้สะสมเงินตราต่างประเทศมากพอ จึงเริ่มขายให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อไปขายต่อให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอีกที อีกทั้งมีผลทำให้อุปทานของเงินตราต่างประเทศในตลาดเสรีมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโน้มลงมาหาอัตราทางราชการ อันเป็นทางไปสู่การจัดเงินตราเข้าสู่เสถียรภาพได้ จากต้นปี 2490 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 80 – 84 บาทต่อ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง และในปลายปี 2490 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 57 - 59 บาทต่อ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง จนเมื่อปลายปี 2497 ได้มีจดหมายให้เริ่มพิจารณางดการขายเงินตราต่างประเทศให้ธนาคารพาณิชย์ และมีการเสนอให้ยกเลิกการขายเงินตราต่างประเทศในอัตราเสรีไปด้วย (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-019 เรื่อง การขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ธนาคารพาณิชย์)
ปลายปี 2497 รัฐบาลได้ตัดสินใจให้มีการปรับปรุงแก้ไขนโยบายการเงินการคลัง ตลอดจนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ หลังจากที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรามาเกือบ 8 ปี โดยจุดประสงค์ของการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา เพื่อสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศนั้น ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะเงินทุนสำรองได้เพิ่มขึ้นมากจนอยู่ในระดับที่เพียงพอ จากที่ประเทศไทยมีทองคำที่เป็นทุนสำรองเพียงร้อยละ 17 ของธนบัตรออกใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเพิ่มขึ้นเท่ากับธนบัตรออกใช้ หรือเท่ากับร้อยละ 100 ของธนบัตรออกใช้ในปี 2495 (ตามเอกสารเลขที่ DAC006-000-020 วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497 เรื่อง วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497 เอกสารเลขที่ DAC006-000-021 เรื่อง พระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2498 เอกสารเลขที่ DAC006-000-022 เรื่อง ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และเอกสารเลขที่ DAC006-000-023 เรื่อง บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2489)
การปรับนโยบายให้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินเป็นระบบตลาดเสรีโดยสิ้นเชิง เพื่อให้สะท้อนกับสภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศและการค้าของไทย จึงนับได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของระบบเศรษฐกิจและระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทย
สรุปการบูรณะระบบการเงินภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
โจทย์
• DAC006-000-005 เรื่อง คำแถลงการณ์ของรัฐบาลในการใช้เงินตราต่างประเทศบูรณะประเทศ
• DAC006-000-006 เรื่อง พระราชบัญญัติจัดสรรเงินตราเพื่อบูรณะประเทศ พ.ศ. 2489
• DAC006-000-007 เรื่อง การจำหน่ายทองคำจากบัญชีทุนสำรองเงินตราโดยถอนธนบัตรคืนจากธนบัตรออกใช้
• DAC006-000-009 เรื่อง มาตรการของรัฐบาลเพื่อให้เงินตราไทยมีเสถียรภาพที่มั่นคง
• DAC006-000-008 เรื่อง นโยบายการเงิน
• DAC006-000-010 เรื่อง การถอนธนบัตรโดยวิธีการออกสลากเงินแบ่ง
• DAC006-000-011 เรื่อง บันทึกการหารือเพื่อจัดเสถียรภาพเงินตรา
• DAC006-000-012 เรื่อง การจัดเสถียรภาพเงินบาท
• DAC006-000-017 เรื่อง การเงินและการธนาคาร
• จะจัดสรรเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่น้อยนิดอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด (บทบาทของ ธปท.)
o มาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างสิ้นเชิง
• DAC006-000-001 เรื่อง กระทรวงการคลังตรึงค่าปริวรรตของบาท
• DAC006-000-002 การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
• DAC006-000-003 ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
เพื่อรวบรวมเงินตราต่างประเทศที่ได้มาไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งกลางและแหล่งเดียว
• DAC006-000-004 เรื่อง การรวมเงินต่างประเทศเข้ากองกลาง
ป้องกันการโอนทุนออกนอกประเทศ
o ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราและการผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา
• เพื่อเพื่อสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
• ทำให้ตลาดเงินตราต่างประเทศถูกแบ่งออกเป็นสองภาค คือ ตลาดทางการและตลาดเสรี
o DAC006-000-013 เรื่อง อัตราปริวรรตปอนด์สเตอร์ลิงและดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ขายให้ทางราชการ
o DAC006-000-014 เรื่อง การกำหนดค่าของเงินบาทใหม่
o DAC006-000-015 เรื่อง บันทึกสรุปคำแนะนำของคณะผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
o DAC006-000-016 เรื่อง เรื่องค่าของเงินตราและราคาสินค้า
o DAC006-000-018 เรื่อง รายงานผลของการขายปอนด์เสรีในอัตรา 45 บาทและการขายดอลลาร์เสรีในอัตรา 16.75 บาท มี.ค.-ส.ค.2496
การผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า
• ยกเลิกการกำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
• อนุญาตให้นำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกสินค้าไปขายในท้องตลาดในอัตราตลาดเสรีได้ ยกเว้นแต่ผู้ที่ส่งออกสินค้าสำคัญ คือ ข้าว ยาง ดีบุก และไม้สัก
o ผลจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราและการผ่อนคลายการควบคุมการส่งออกสินค้า
เงินทุนสำรองได้เพิ่มขึ้นมากจนอยู่ในระดับที่เพียงพอ
• DAC006-000-020 วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497 เรื่อง วิจารณ์ดัชนีค่าครองชีพตลอดปี 2497
• DAC006-000-021 เรื่อง พระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2498
• DAC006-000-022 เรื่อง ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
• DAC006-000-023 เรื่อง บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2489
ส่งผลให้ทางการมีเงินตราต่างประเทศที่หายากในขณะนั้น คือ เงินดอลลาร์ สรอ. ที่ขาดแคลนทั่วโลก จึงเริ่มขายให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อไปขายต่อให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอีกที.
• DAC006-000-019 เรื่อง การขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ธนาคารพาณิชย์
เป็นการพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศ
• จะจับจ่ายเงินในการฟื้นฟูบูรณะประเทศอย่างไรที่จะไม่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก (บทบาทของรัฐบาล)